contact
Test Drive Blog
twitter
rss feed
blog entries
log in

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ยุวชนสาวไทยผลงานเยี่ยม!พิชิตสาวโสมขาว 3-1 เซต คว้าอันดับ3 ศึกยุวชนหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ตีตั๋วประชันพลังตบศึกชิงแชมป์โลกใน ปีหน้า ที่ เปรู สำเร็จ ส่วนแชมป์ตกเป็นของ สาวปลาดิบ ตีตั๋ว2ใบทั้งชิงแชมป์โลกและศึก ยูธโอลิมปิก

การแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 8 ที่ สนามเชอราส แบดมินตัน สเตเดี้ยม กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 20 – 28 พฤษภาคม 2553 คัดแชมป์ไปแข่งขัน ยูธโอลิมปิกเกมส์ ที่สิงคโปร์ และ คัด 3 ทีม ไปแข่งขัน ยุวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่ เปรู ในปีหน้า ซึ่งมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน 13 ทีม ดังนี้ "เจ้าภาพ" มาเลเซีย, คาซัคสถาน (อันดับ 9), สิงคโปร์, "แชมป์เก่า" ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย (อันดับ 7), นิวซีแลนด์, "รองแชมป์เก่า" จีน, ไต้หวัน (อันดับ 5), อิหร่าน, ไทย (อันดับ 3), เกาหลีใต้ (อันดับ 4), เวียดนาม, อินเดีย โดยวันที่ 28 พ.ค เป็นการแข่งขันวันสุดท้ายรอบชิงชนะเลิศ

สำหรับสาวไทยที่เคยได้เหรียญทองแดงในปี 2003 และ 2008 และ อันดับ 7 ยุวชนหญิงชิงแชมป์โลก เมื่อปีที่แล้ว ในรอบรองชนะเลิศเป็นฝ่ายแพ้ ญี่ปุ่น 0-3 (14-25, 17-25, 15-23) ได้แค่ชิงอันดับ 3 ปล่อยให้สาวปลาดิบทะลุเข้ารอบชิงชนะเลิศกับ จีน ที่เอาชนะ เกาหลีใต้ 3-0 (25-23, 25-21, 25-18)

ผลการแข่งขันในรอบชิงอันดับ 3 เกาหลีใต้ เจอกับ ไทย ปรากฎว่า นักตบลูยางสาวไทยทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นฝ่ายชนะ สาวโสมขาว 3-1 (25-13, 26-24, 21-25, 25-17) ทำให้ได้อันดับ 3 อีกครั้งพร้อมกับ สามารถคว้าตั๋วไปแข่งขันชิงแชมป์โลก ที่ เปรู ในปีหน้า ได้สำเร็จ

ส่วน รอบชิงชนะเลิศเป็นการเจอกับ ระหว่าง จีน กับ ญี่ปุ่น ผลปรากฎว่าสาวปลาดิบ เป็นฝ่ายเอาชนะ หมวยใหญ่ 3-0 (25-21, 25-20, 25-14) คว้าตั๋วไปแข่งขันยูธโอลิมปิก ที่สิงคโปร์ ในปีนี้ และ ชิงแชมป์โลกในปีหน้าที่เปรู

จัดอันดับ 5-8 ไต้หวัน ชนะ มาเลเซีย 3-0 (25-6, 25-12, 25-12) คาซัคสถาน ชนะ ออสเตรเลีย 3-1 (23-25, 26-24, 25-18, 29-27) ทำให้ในรอบชิงอันดับ 7 มาเลเซีย - ออสเตรเลีย และ ชิงอันดับ 5 ไต้หวัน - คาซัคสถาน

โดยผลการแข่งขันปรากฎว่า ชิงอันดับ 7 ออสเตรเลีย ชนะ มาเลเซีย 3-0 (25-10, 25-20, 25-19) ชิงอันดับ 5 ไต้หวัน ชนะ คาซัคสถาน 3-0 (25-17, 25-12, 26-24), รอบจัดอันดับ ชิงอันดับที่ 11 นิวซีแลนด์ ชนะ สิงคโปร์ 3-0 (26-24, 25-22, 25-18) ชิงอันดับ 9 อิหร่าน ชนะ เวียดนาม 3-0 (25-18, 25-17, 25-21)

ด้าน "โค้ชโจ้" อภิศักดิ์ รักชาติยิ่งชีพ ผู้ฝึกสอนทีมวอลเลย์บอลยุวชนสาวไทย เผยว่า ในเกมนัดสุดท้ายถึงแม้สาวไทยจะเป็นฝ่ายชนะไปก่อน 2 เซตแรก แก็ยังไม่วางใจ เพราะเคยเจอแบบเขาเอาคืนสามเซตหลังมาแล้ว เลยพยายามเล่นให้ดี แต่เกาหลีใต้วางแผนแก้เกมมาดีมาก ทำให้เราแพ้ โชคดีที่เซตสี่เด็กเล่นดี การต่อบอลยอดเยี่ยม ทุกคนช่วยกันเล่น ทุกคนมั่นใจ บอลแรกก็ดี ก็ดีใจที่ได้ไปแข่งขันชิงแชมป์โลก ทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในการได้อันดับ 3

สรุปอันดับการแข่งขัน คู่ชิงชนะเลิศ ญีปุ่น-จีน 3 ไทย 4 เกาหลีใต้ 5 ไต้หวัน 6 คาซัคสถาน 7 ออสเตรเลีย 8 มาเลเซีย 9 อิหร่าน 10 เวียดนาม 11 นิวซีแลนด์ 12 สิงคโปร์ 13 อินเดีย

อนึ่ง ทีมวอลเลย์บอลยุวชนสาวไทยมีกำหนดเดินทางกลับในวันที่ 29 พฤษภาคม เที่ยวบินที่ ทีจี 416 กัวลาลัมเปอร์ – กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากมาเลเซียเวลา 13.20 น. ถึงเมืองไทย เวลา 14.30 น.

0
วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553





0
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมร่างกายสำหรับเกมกีฬาไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ซึ่งคนที่ไม่รู้อาจจะมองว่าการเตรียมตัวให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่นและเกิดการอบอุ่นนั้น เป็นเรื่องเหลวไหลไม่จำเป็นต้องใส่ใจอะไรมากมายนัก แต่แท้ที่จริงแล้วการเตรียมตัวให้ร่างกายพร้อมสรรพ สำหรับภาระอันหนักหน่วงในเกมกีฬาแต่ละชนิดนั้น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับนักกีฬาแต่ละคน เพราะนั่นหมายถึงผลงานและชื่อเสียงที่จะตามมา การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยให้เกิดการไหลเวียน ของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ จะช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของมันอีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้นและมีความคล่องแคล่วในตัว ขณะเดียวกันการทำงานของระบบข้อต่อ ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การยืดและเหยียดกล้ามเนื้อควรค่อย ๆ ทำ พยายามให้เวลาแก่กล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ เพื่อปรับตัวรับสภาวะการยืดหยุ่น ระยะแรก ๆ ควรจะฝึกท่าต่าง ๆ ในช่วงเวลา 10 - 15 วินาที พอฝึกฝนได้สัก10 -14 วัน แล้วจึงยืดเวลาในแต่ละท่าออกเป็น 20 - 30 วินาที การฝึกซ้อมแต่ละท่าควรทำซ้ำ ๆ กันสัก 2 - 3 ครั้ง ในขณะที่เริ่มฝึกเหยียดหรือยืดนั้น ทำตัวสบาย ๆ ตั้งสมาธิให้แน่วแน่ สูดลมหายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอและเป็นจังหวะ ข้อแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติควบคู่
ขณะฝึกซ้อม คือ ให้ฝึกการนับเป็นจังหวะจับเวลา 10 วินาทีหรือนับหนึ่งถึงสิบช้า ๆ
ข้อสำคัญสำหรับการฝึก คือ อย่าได้เลือกทำเฉพาะท่าปฏิบัติที่ชอบหรือถนัดเท่านั้น เพราะในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนั้น นักกีฬาจะต้องใช้กล้ามเนื้อในร่างกายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น
บริเวณหลัง , สะโพก , ขา แขนหรือมือ เป็นต้น นักกีฬาต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน
ดังนั้น อย่าฝึกแต่แขน อย่าฝึกเพียงท่าสองท่า แล้วเลิกเพราะผลที่จะตามมาไม่คุ้มค่ากัน
การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึกซ้อมประจำวันหรือก่อนการแข่งขัน ควรใช้เวลา
ในการฝึกประมาณ 15 - 20 นาทีก็พอ แต่ก่อนอื่นก็ควรจะเล่นการบริหารเอาเหงื่อก่อนสัก 5 - 10 นาที สำหรับการฝึกคลายกล้ามเนื้อ หลังการฝึกซ้อมหรือหลังการแข่งขัน ควรทำทันทีโดยใช้เวลา
ประมาณ 20 - 30 นาที โดยเริ่มจากท่ายืนเคลื่อนไหวเบา ๆ จนถึงท่านั่งและนอน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้กลับสู่ภาวะปกติ สำหรับท่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในการฝึกการอบอุ่นร่างกาย
มีมากมายหลายท่า แต่จะขอแนะนำท่าในการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยแยกเป็นท่ายืน ท่านั่งและท่านอน
จากการที่ได้ปฏิบัติตนในการอบอุ่นร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการแข่งขันเป็นประจำทุกครั้ง หรือแม้แต่การฝึกซ้อมประจำวันก็ตาม ย่อมเป็นผลดีต่อร่างกายมากมายนัก เพราะนั่นหมายถึงผลงานที่จะตามมา และการฝึกยืดหรือเหยียดกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ
จะช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของกล้ามเนื้ออีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้น มีความคล่องแคล่วในตัว และการทำงานของระบบข้อต่อ จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการเกิดการบาดเจ็บจากการแข่งขันหรือฝึกซ้อมได้เป็นอย่างดี
















0




การฝึกความแข็งแรงสำหรับวอลเลย์บอลและการสร้างแบบฝึกการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลจะต้องมีการฝึกเรื่องความแข็งแรงเช่นเดียวกับกีฬาอื่น ๆ ความแข็งแรงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประสบความสำเร็จในการแข่งขันวอลเลย์บอล มีงานวิจัยมากมายแสดงผลว่าการฝึกด้วยแรงต้านทานเช่น Weight Training สามารถพัฒนาพลังและแรงสูงสุดให้กับนักกีฬา ลดโอกาสในการเกิดบาดเจ็บและช่วยให้ฟื้นตัวจากการบาดเจ็บเร็วขึ้น ลดความผิดพลาดจากการฝึกซ้อม

คำถามหนึ่งที่นักกีฬาวอลเลย์บอลชอบถามเสมอคือ ทำอย่างไรถึงจะให้กระโดดได้สูง ๆ การกระโดดให้สูงนั้นนอกจากองค์ประกอบด้านกายภาพแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ การฝึกซ้อม ซ้อม และก็ซ้อม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีด้วย มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่เกิดผลการฝึกซ้อมเทคนิคการกระโดดที่ถูกวิธีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระโดดในแนวตั้ง (ลักษณะการกระโดดในกีฬาวอลเลย์บอล)




ผมรวบรวมแบบฝึกเกี่ยวกับการรับบอลที่นิยมใช้ และค่อนข้างจะได้ผลมานำเสนอ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ฝึกสอน หรือคุณครูที่ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลอาจจะได้นำไปปรับใช้ในการฝึกซ้อมได้บ้างแบบฝึกการรับบอลแต่ละตำแหน่งที่นำเสนอนี้ เป็นแบบฝึกที่ใช้สำหรับฝึกทักษะการรับส่วนบุคคลอยู่ แต่ระดับความยากจะยากขึ้น และเป็นแบบฝึกของแต่ละตำแหน่งในการรับก่อนจะเข้าสู่แบบฝึก ผมจะแสดงแผนผังของแต่ละตำแหน่งในการเล่นวอลเลย์บอล

0
วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลังจากวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกจบเลกแรกลงทำให้ผมพอจะหาเวลาว่างได้บ้าง เลยลุยนำเสนอเทคนิคการเล่นวอลเลย์บอลให้ได้ศึกษากัน โดยหลังจากเขียนเรื่องกลยุทธ์ของตัวเซตในตอนที่แล้ว ในตอนนี้จะนำเรื่องกลยุทธ์ของตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องแบ่งเป็นตอน ๆ ต่อเนื่องกันไป
ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ตำแหน่งผู้เล่นตัวรุกหรือ "ตัวตบ" มักจะเป็นตำแหน่งที่ผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลโดยส่วนใหญ่อยากจะเล่นมากที่สุด และในตำแหน่งตัวรุกยังสามารถแยกประเภทออกเป็นการรุกลักษณะต่างๆ ได้อีก เช่น ผู้เล่นตัวตบหัวเสา ผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตบบอลบี (Co-setter)
จากการเก็บข้อมูลวิเคราะห์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงในระดับสูง ในเรื่องการกระโดดของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงตำแหน่งต่างๆ ซึ่งได้ผลดังนี้
- ช่วงระยะเวลาในการกระโดดแต่ละครั้ง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 38.6 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ 24.6 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 56 วินาทีต่อครั้ง
- จำนวนครั้งที่กระโดดต่อระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ผู้เล่นตบหัวเสา กระโดดประมาณ 49.4 ครั้งต่อชั่วโมงผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดประมาณ 76.7 ครั้งต่อชั่วโมงผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 52.5 ครั้งต่อชั่วโมง
ส่วนในประเภททีมชาย ค่าเฉลี่ยจะกระโดดมากกว่าทีมหญิง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 32 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ 20 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 18 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลบี Co-setter กระโดดเฉลี่ยประมาณ 31 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้ง
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้เราทราบว่าผู้เล่นตัวตบที่ต้องมีสมรรถภาพในการกระโดดสูงก็คือผู้เล่นตบบอลเร็ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปวิเคราะห์วางแผนการฝึกซ้อมผู้เล่นตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ได้
ในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเทคนิคกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุกในแบบต่างๆ ซึ่งน่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลอย่างมาก

0

ในตอนที่ผ่านมาผมได้เกริ่นไปบ้างแล้วเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุก ซึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลตำแหน่งตัวรุกยังแตกต่างกันไปอีกทั้งเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกสอน นักกีฬาควรให้ความสนใจศึกษาว่าในแต่ละประเภทของการรุก คุณสมบัติของผู้เล่นควรมีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกผู้เล่นหรือฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้อง ในตอนนี้ผมจะนำเสนอกลยุทธ์เทคนิคของผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว (Quick hitter) เป็นตอนแรก
ผู้เล่นตบบอลเร็ว (Quick hitter)
ผู้เล่นตบบอลเร็วกล่าวได้ว่าเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญมากที่สุดในกระบวนการรุก เพราะแผนการรุกต้องประกอบด้วยบอลเร็วอันดับแรก และแผนการรุกแบบผสมผสาน (Combination) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการรุกด้วยบอลเร็วและรอบๆ ตำแหน่งบอลเร็ว เช่นที่ภาษาวอลเลย์บอลบ้านเราเรียกว่า บอลทับ (AB) หรือบอลแทรก (XB)
คุณสมบัติด้านจิตใจของผู้เล่นตบบอลเร็วที่สำคัญต้องมีจิตใจความเป็นนักสู้ เป็นผู้เสียสละสูง สาเหตุเพราะในการแข่งขันแผนการเล่นจะประสบความสำเร็จหรือไม่เกิดจากผู้เล่นบอลเร็วต้องกระโดดเพื่อทำการตบทุกครั้ง และหลายครั้งเป็นการกระโดดโดยที่ไม่ได้ตบบอล เป็นเพียงตัวหลอกแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้เท่านั้น และนอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นที่ทำการสกัดกั้นมากที่สุดในทีมอีกด้วย เราไม่สามารถวัดความสำเร็จของผู้เล่นบอลเร็วจากการตบบอลได้อย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงความสำเร็จในแผนการรุกที่ผู้เล่นบอลเร็วสามารถดึงผู้สกัดกั้นฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่เพื่อนร่วมทีมสามารถตบบอลโดยมีผู้สกัดกั้นเพียงคนเดียว ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกตัวตบบอลเร็วว่าเป็น “ตัวหลอก” ทำหน้าที่ปิดทองหลังพระในทีมโดยแท้จริง
นอกจากนี้ผู้ที่จะเล่นตำแหน่งตบบอลเร็วจะต้องใจกว้าง มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเซต ต้องตระหนักถึงบทบาท เชื่อมั่นในตัวเซตว่าเป็นผู้กำหนดแผนการรุก แม้ว่าหลายครั้งจะต้องกระโดดโดยไม่ได้ตบบอลก็ตาม ต้องคิดถึงความสำเร็จของทีมเป็นหลัก หากผู้เล่นตบบอลเร็วสามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นให้กระโดดตามโดยทำให้เพื่อนร่วมทีมได้ตบบอลโดยมีการสกัดกั้นคนเดียวหรือไม่มี ถือว่าเป็นความสำเร็จ เป็นการทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว หากตัวเซตเซตบอลมาให้ตบก็ต้องสามารถทำคะแนนได้
คุณสมบัติด้านกายภาพที่จำเป็นของผู้เล่นตบบอลเร็ว ต้องมีความสูงและคล่องแคล่วเพราะในสถานการณ์การแข่งขันผู้เล่นบอลเร็วจะเป็นตัวสกัดกั้นตัวกลาง (Middle blocker) ซึ่งต้องเคลื่อนที่สกัดกั้นตลอด ในทีมชั้นนำระดับนานาชาติประเภททีมชาย ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.60 เมตร ส่วนทีมหญิงส่วนสูงประมาณ 1.85 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.30 เมตร สำหรับทีมในประเทศไทย หากผู้ฝึกสอนมีผู้เล่นบอลเร็วที่มีคุณภาพก็จะทำให้ประสิทธิภาพในเกมรุก การป้องกันมีประสิทธิภาพมากส่งผลต้อความสำเร็จของทีม
คุณลักษณะของผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในระยะ 2-3 เมตร มีปฏิกิริยาและทักษะในการกระโดดดีมาก และต้องมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีพอที่จะยืนระยะการเล่นจนจบการแข่งขัน ด้านเทคนิคพื้นฐานควรมีคุณลักษณะดังนี้
ตบบอลเร็วได้ทั้งด้านหน้าและหลังตัวเซต การเคลื่อนที่กระโดดได้จังหวะที่เหมาะสม ง่ายต่อการเซตของตัวเซต
รุกได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการสกัดกั้นเพียงคนเดียว และต้องไม่สร้างความผิดพลาดเอง
มีปฏิกิริยาตอบสนองและใช้ข้อมือในการตบได้อย่างรวดเร็ว
ในตอนต่อไปผมจะมาพูดคุยกันในเรื่องเทคนิคขั้นสูงของการตบบอลเร็ว ซึ่งปัจจุบันผมมองว่าเป็นปัญหาของทีมวอลเลย์บอลในเมืองไทยที่ไม่ค่อยมีผู้เล่นบอลเร็วเก่งๆ โดยเฉพาะทีมชาย ในอดีตเรามี จรัญ พระคุ้มครอง ขจรศักดิ์ มานะพรชัย มนูญ ยืนยง สุนทร โพธิสีตา เล่นบอลเร็วได้เก่งมาก มีเทคนิคการเล่นแพรวพราว แต่ปัจจุบันผู้เล่นบอลเร็วของไทยเราเทคนิคไม่ดีเท่าผู้เล่นสมัยก่อน หากเราฝึกฝนกันจริงจัง ให้ความสำคัญกับบอลเร็วให้มากกว่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น

0

เดิมทีผมจะเริ่มเขียนเรื่องตำแหน่งผู้เล่นตบหัวเสาแต่ยังมีบางอย่างเล็กน้อยในส่วนของผู้เล่นตบบอลเร็วที่อยากจะเพิ่มเติมจึงได้ยืดเรื่องบอลเร็วออกมาอีกหนึ่งตอน
ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับสูง ตำแหน่งผู้เล่นบอลเร็วมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จใจกลยุทธ์การรุก ในระดับนี้หากไม่มีบอลเร็ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก หากเราดูการแข่งขันในระดับนานาชาติทีมชั้นนำของเอเซียหรือระดับโลกในประเภททีมชาย แม้ว่ามักจะไม่ค่อยใช้ผู้เร็วทำการรุกมากนักแต่ก็เป็นตัวที่สร้างความกังวลให้ ตัวสกัดกั้น (Middle blocker) เพราะหากละความสนใจจากบอลเร็วอาจจะถูกโจมตีด้วยบอลเร็วและการแข่งขันในระดับนี้ตัวเซตมีความสามารถสูง สามารถสร้างยุทธวิธีการรุกจากจุดอ่อนในแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้ได้
ส่วนในระดับกลางผู้เล่นบอลเร็วก็ยังสำคัญ แต่เรายังมักเห็นข้อผิดพลาดจากการเล่นบอลเร็วในระดับนี้อยู่มาก เนื่องจากการเล่นบอลเร็วเป็นส่วนผสมของความสัมพันธ์ระหว่าง การรับบอลเสริฟ การเซต และการตบ ผู้ฝึกสอนหากต้องการพัฒนาการรุกโจมตีด้วยบอลเร็ว จะต้องฝึกซ้อมพัฒนาความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วนนี้ การรับลูกเสริฟต้องดี ตัวเซตเซตบอลได้ดี และผู้เล่นบอลเร็วตบบอลได้เด็ดขาด
และสุดท้ายในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับพื้นฐาน/เริ่มต้น การโจมตีด้วยบอลเร็วไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะทักษะและเทคนิคของผู้เล่นยังไม่มากพอ โดยส่วนใหญ่ในระดับนี้ผู้เล่นตัวกลางหน้ามักจะทำการรุกด้วยบอล B (สูงเหนือตาข่าย 1-2 เมตร)
สิ่งที่พึงระวังสำหรับผู้ฝึกสอนในแต่ละระดับคือ โดยส่วนใหญ่ผู้ฝึกสอนมักจะเลียนแบบการเล่น เทคนิคต่างๆจากทีมในระดับที่สูงกว่า โดยไม่ได้ทำการวิเคราะห์ทักษะความสามารถ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของนักกีฬา ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียแก่ทีมมากกว่า ผู้ฝึสอนจำเป็นต้องประเมินว่าในการแข่งขันแต่ละเกมส์ ระดับการเล่นของคู่แข่ง และของทีมมีเพียงใด จะใช้ผู้เล่นบอลเร็วเป็นตัวหลักในการรุกหรือเป็นเพียงตัวหลอก ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งขัน อย่าลืมว่า " ความสำเร็จในการเล่นของผู้เล่นตำแหน่งตบบอลเร็ว ไม่ได้เกิดจากการตบบอลอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการที่สามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นตัวกลางโดยทำให้ไม่สามารถไปสกัดกั้นการรุกจากตำแหน่งอื่นได้"

0

Followers