contact
Test Drive Blog
twitter
rss feed
blog entries
log in

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมร่างกายสำหรับเกมกีฬาไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ซึ่งคนที่ไม่รู้อาจจะมองว่าการเตรียมตัวให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่นและเกิดการอบอุ่นนั้น เป็นเรื่องเหลวไหลไม่จำเป็นต้องใส่ใจอะไรมากมายนัก แต่แท้ที่จริงแล้วการเตรียมตัวให้ร่างกายพร้อมสรรพ สำหรับภาระอันหนักหน่วงในเกมกีฬาแต่ละชนิดนั้น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับนักกีฬาแต่ละคน เพราะนั่นหมายถึงผลงานและชื่อเสียงที่จะตามมา การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยให้เกิดการไหลเวียน ของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ จะช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของมันอีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้นและมีความคล่องแคล่วในตัว ขณะเดียวกันการทำงานของระบบข้อต่อ ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การยืดและเหยียดกล้ามเนื้อควรค่อย ๆ ทำ พยายามให้เวลาแก่กล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ เพื่อปรับตัวรับสภาวะการยืดหยุ่น ระยะแรก ๆ ควรจะฝึกท่าต่าง ๆ ในช่วงเวลา 10 - 15 วินาที พอฝึกฝนได้สัก10 -14 วัน แล้วจึงยืดเวลาในแต่ละท่าออกเป็น 20 - 30 วินาที การฝึกซ้อมแต่ละท่าควรทำซ้ำ ๆ กันสัก 2 - 3 ครั้ง ในขณะที่เริ่มฝึกเหยียดหรือยืดนั้น ทำตัวสบาย ๆ ตั้งสมาธิให้แน่วแน่ สูดลมหายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอและเป็นจังหวะ ข้อแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติควบคู่
ขณะฝึกซ้อม คือ ให้ฝึกการนับเป็นจังหวะจับเวลา 10 วินาทีหรือนับหนึ่งถึงสิบช้า ๆ
ข้อสำคัญสำหรับการฝึก คือ อย่าได้เลือกทำเฉพาะท่าปฏิบัติที่ชอบหรือถนัดเท่านั้น เพราะในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนั้น นักกีฬาจะต้องใช้กล้ามเนื้อในร่างกายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น
บริเวณหลัง , สะโพก , ขา แขนหรือมือ เป็นต้น นักกีฬาต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน
ดังนั้น อย่าฝึกแต่แขน อย่าฝึกเพียงท่าสองท่า แล้วเลิกเพราะผลที่จะตามมาไม่คุ้มค่ากัน
การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึกซ้อมประจำวันหรือก่อนการแข่งขัน ควรใช้เวลา
ในการฝึกประมาณ 15 - 20 นาทีก็พอ แต่ก่อนอื่นก็ควรจะเล่นการบริหารเอาเหงื่อก่อนสัก 5 - 10 นาที สำหรับการฝึกคลายกล้ามเนื้อ หลังการฝึกซ้อมหรือหลังการแข่งขัน ควรทำทันทีโดยใช้เวลา
ประมาณ 20 - 30 นาที โดยเริ่มจากท่ายืนเคลื่อนไหวเบา ๆ จนถึงท่านั่งและนอน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้กลับสู่ภาวะปกติ สำหรับท่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในการฝึกการอบอุ่นร่างกาย
มีมากมายหลายท่า แต่จะขอแนะนำท่าในการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยแยกเป็นท่ายืน ท่านั่งและท่านอน
จากการที่ได้ปฏิบัติตนในการอบอุ่นร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการแข่งขันเป็นประจำทุกครั้ง หรือแม้แต่การฝึกซ้อมประจำวันก็ตาม ย่อมเป็นผลดีต่อร่างกายมากมายนัก เพราะนั่นหมายถึงผลงานที่จะตามมา และการฝึกยืดหรือเหยียดกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ
จะช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของกล้ามเนื้ออีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้น มีความคล่องแคล่วในตัว และการทำงานของระบบข้อต่อ จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการเกิดการบาดเจ็บจากการแข่งขันหรือฝึกซ้อมได้เป็นอย่างดี
















0




การฝึกความแข็งแรงสำหรับวอลเลย์บอลและการสร้างแบบฝึกการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลจะต้องมีการฝึกเรื่องความแข็งแรงเช่นเดียวกับกีฬาอื่น ๆ ความแข็งแรงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประสบความสำเร็จในการแข่งขันวอลเลย์บอล มีงานวิจัยมากมายแสดงผลว่าการฝึกด้วยแรงต้านทานเช่น Weight Training สามารถพัฒนาพลังและแรงสูงสุดให้กับนักกีฬา ลดโอกาสในการเกิดบาดเจ็บและช่วยให้ฟื้นตัวจากการบาดเจ็บเร็วขึ้น ลดความผิดพลาดจากการฝึกซ้อม

คำถามหนึ่งที่นักกีฬาวอลเลย์บอลชอบถามเสมอคือ ทำอย่างไรถึงจะให้กระโดดได้สูง ๆ การกระโดดให้สูงนั้นนอกจากองค์ประกอบด้านกายภาพแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ การฝึกซ้อม ซ้อม และก็ซ้อม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีด้วย มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่เกิดผลการฝึกซ้อมเทคนิคการกระโดดที่ถูกวิธีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระโดดในแนวตั้ง (ลักษณะการกระโดดในกีฬาวอลเลย์บอล)




ผมรวบรวมแบบฝึกเกี่ยวกับการรับบอลที่นิยมใช้ และค่อนข้างจะได้ผลมานำเสนอ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ฝึกสอน หรือคุณครูที่ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลอาจจะได้นำไปปรับใช้ในการฝึกซ้อมได้บ้างแบบฝึกการรับบอลแต่ละตำแหน่งที่นำเสนอนี้ เป็นแบบฝึกที่ใช้สำหรับฝึกทักษะการรับส่วนบุคคลอยู่ แต่ระดับความยากจะยากขึ้น และเป็นแบบฝึกของแต่ละตำแหน่งในการรับก่อนจะเข้าสู่แบบฝึก ผมจะแสดงแผนผังของแต่ละตำแหน่งในการเล่นวอลเลย์บอล

0
วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลังจากวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกจบเลกแรกลงทำให้ผมพอจะหาเวลาว่างได้บ้าง เลยลุยนำเสนอเทคนิคการเล่นวอลเลย์บอลให้ได้ศึกษากัน โดยหลังจากเขียนเรื่องกลยุทธ์ของตัวเซตในตอนที่แล้ว ในตอนนี้จะนำเรื่องกลยุทธ์ของตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องแบ่งเป็นตอน ๆ ต่อเนื่องกันไป
ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ตำแหน่งผู้เล่นตัวรุกหรือ "ตัวตบ" มักจะเป็นตำแหน่งที่ผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลโดยส่วนใหญ่อยากจะเล่นมากที่สุด และในตำแหน่งตัวรุกยังสามารถแยกประเภทออกเป็นการรุกลักษณะต่างๆ ได้อีก เช่น ผู้เล่นตัวตบหัวเสา ผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตบบอลบี (Co-setter)
จากการเก็บข้อมูลวิเคราะห์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงในระดับสูง ในเรื่องการกระโดดของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงตำแหน่งต่างๆ ซึ่งได้ผลดังนี้
- ช่วงระยะเวลาในการกระโดดแต่ละครั้ง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 38.6 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ 24.6 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 56 วินาทีต่อครั้ง
- จำนวนครั้งที่กระโดดต่อระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ผู้เล่นตบหัวเสา กระโดดประมาณ 49.4 ครั้งต่อชั่วโมงผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดประมาณ 76.7 ครั้งต่อชั่วโมงผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 52.5 ครั้งต่อชั่วโมง
ส่วนในประเภททีมชาย ค่าเฉลี่ยจะกระโดดมากกว่าทีมหญิง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 32 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ 20 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 18 วินาทีต่อครั้งผู้เล่นตบบอลบี Co-setter กระโดดเฉลี่ยประมาณ 31 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้ง
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้เราทราบว่าผู้เล่นตัวตบที่ต้องมีสมรรถภาพในการกระโดดสูงก็คือผู้เล่นตบบอลเร็ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปวิเคราะห์วางแผนการฝึกซ้อมผู้เล่นตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ได้
ในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเทคนิคกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุกในแบบต่างๆ ซึ่งน่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลอย่างมาก

0

ในตอนที่ผ่านมาผมได้เกริ่นไปบ้างแล้วเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุก ซึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลตำแหน่งตัวรุกยังแตกต่างกันไปอีกทั้งเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกสอน นักกีฬาควรให้ความสนใจศึกษาว่าในแต่ละประเภทของการรุก คุณสมบัติของผู้เล่นควรมีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกผู้เล่นหรือฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้อง ในตอนนี้ผมจะนำเสนอกลยุทธ์เทคนิคของผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว (Quick hitter) เป็นตอนแรก
ผู้เล่นตบบอลเร็ว (Quick hitter)
ผู้เล่นตบบอลเร็วกล่าวได้ว่าเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญมากที่สุดในกระบวนการรุก เพราะแผนการรุกต้องประกอบด้วยบอลเร็วอันดับแรก และแผนการรุกแบบผสมผสาน (Combination) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการรุกด้วยบอลเร็วและรอบๆ ตำแหน่งบอลเร็ว เช่นที่ภาษาวอลเลย์บอลบ้านเราเรียกว่า บอลทับ (AB) หรือบอลแทรก (XB)
คุณสมบัติด้านจิตใจของผู้เล่นตบบอลเร็วที่สำคัญต้องมีจิตใจความเป็นนักสู้ เป็นผู้เสียสละสูง สาเหตุเพราะในการแข่งขันแผนการเล่นจะประสบความสำเร็จหรือไม่เกิดจากผู้เล่นบอลเร็วต้องกระโดดเพื่อทำการตบทุกครั้ง และหลายครั้งเป็นการกระโดดโดยที่ไม่ได้ตบบอล เป็นเพียงตัวหลอกแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้เท่านั้น และนอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นที่ทำการสกัดกั้นมากที่สุดในทีมอีกด้วย เราไม่สามารถวัดความสำเร็จของผู้เล่นบอลเร็วจากการตบบอลได้อย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงความสำเร็จในแผนการรุกที่ผู้เล่นบอลเร็วสามารถดึงผู้สกัดกั้นฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่เพื่อนร่วมทีมสามารถตบบอลโดยมีผู้สกัดกั้นเพียงคนเดียว ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกตัวตบบอลเร็วว่าเป็น “ตัวหลอก” ทำหน้าที่ปิดทองหลังพระในทีมโดยแท้จริง
นอกจากนี้ผู้ที่จะเล่นตำแหน่งตบบอลเร็วจะต้องใจกว้าง มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเซต ต้องตระหนักถึงบทบาท เชื่อมั่นในตัวเซตว่าเป็นผู้กำหนดแผนการรุก แม้ว่าหลายครั้งจะต้องกระโดดโดยไม่ได้ตบบอลก็ตาม ต้องคิดถึงความสำเร็จของทีมเป็นหลัก หากผู้เล่นตบบอลเร็วสามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นให้กระโดดตามโดยทำให้เพื่อนร่วมทีมได้ตบบอลโดยมีการสกัดกั้นคนเดียวหรือไม่มี ถือว่าเป็นความสำเร็จ เป็นการทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว หากตัวเซตเซตบอลมาให้ตบก็ต้องสามารถทำคะแนนได้
คุณสมบัติด้านกายภาพที่จำเป็นของผู้เล่นตบบอลเร็ว ต้องมีความสูงและคล่องแคล่วเพราะในสถานการณ์การแข่งขันผู้เล่นบอลเร็วจะเป็นตัวสกัดกั้นตัวกลาง (Middle blocker) ซึ่งต้องเคลื่อนที่สกัดกั้นตลอด ในทีมชั้นนำระดับนานาชาติประเภททีมชาย ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.60 เมตร ส่วนทีมหญิงส่วนสูงประมาณ 1.85 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.30 เมตร สำหรับทีมในประเทศไทย หากผู้ฝึกสอนมีผู้เล่นบอลเร็วที่มีคุณภาพก็จะทำให้ประสิทธิภาพในเกมรุก การป้องกันมีประสิทธิภาพมากส่งผลต้อความสำเร็จของทีม
คุณลักษณะของผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในระยะ 2-3 เมตร มีปฏิกิริยาและทักษะในการกระโดดดีมาก และต้องมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีพอที่จะยืนระยะการเล่นจนจบการแข่งขัน ด้านเทคนิคพื้นฐานควรมีคุณลักษณะดังนี้
ตบบอลเร็วได้ทั้งด้านหน้าและหลังตัวเซต การเคลื่อนที่กระโดดได้จังหวะที่เหมาะสม ง่ายต่อการเซตของตัวเซต
รุกได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการสกัดกั้นเพียงคนเดียว และต้องไม่สร้างความผิดพลาดเอง
มีปฏิกิริยาตอบสนองและใช้ข้อมือในการตบได้อย่างรวดเร็ว
ในตอนต่อไปผมจะมาพูดคุยกันในเรื่องเทคนิคขั้นสูงของการตบบอลเร็ว ซึ่งปัจจุบันผมมองว่าเป็นปัญหาของทีมวอลเลย์บอลในเมืองไทยที่ไม่ค่อยมีผู้เล่นบอลเร็วเก่งๆ โดยเฉพาะทีมชาย ในอดีตเรามี จรัญ พระคุ้มครอง ขจรศักดิ์ มานะพรชัย มนูญ ยืนยง สุนทร โพธิสีตา เล่นบอลเร็วได้เก่งมาก มีเทคนิคการเล่นแพรวพราว แต่ปัจจุบันผู้เล่นบอลเร็วของไทยเราเทคนิคไม่ดีเท่าผู้เล่นสมัยก่อน หากเราฝึกฝนกันจริงจัง ให้ความสำคัญกับบอลเร็วให้มากกว่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น

0

เดิมทีผมจะเริ่มเขียนเรื่องตำแหน่งผู้เล่นตบหัวเสาแต่ยังมีบางอย่างเล็กน้อยในส่วนของผู้เล่นตบบอลเร็วที่อยากจะเพิ่มเติมจึงได้ยืดเรื่องบอลเร็วออกมาอีกหนึ่งตอน
ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับสูง ตำแหน่งผู้เล่นบอลเร็วมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จใจกลยุทธ์การรุก ในระดับนี้หากไม่มีบอลเร็ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก หากเราดูการแข่งขันในระดับนานาชาติทีมชั้นนำของเอเซียหรือระดับโลกในประเภททีมชาย แม้ว่ามักจะไม่ค่อยใช้ผู้เร็วทำการรุกมากนักแต่ก็เป็นตัวที่สร้างความกังวลให้ ตัวสกัดกั้น (Middle blocker) เพราะหากละความสนใจจากบอลเร็วอาจจะถูกโจมตีด้วยบอลเร็วและการแข่งขันในระดับนี้ตัวเซตมีความสามารถสูง สามารถสร้างยุทธวิธีการรุกจากจุดอ่อนในแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้ได้
ส่วนในระดับกลางผู้เล่นบอลเร็วก็ยังสำคัญ แต่เรายังมักเห็นข้อผิดพลาดจากการเล่นบอลเร็วในระดับนี้อยู่มาก เนื่องจากการเล่นบอลเร็วเป็นส่วนผสมของความสัมพันธ์ระหว่าง การรับบอลเสริฟ การเซต และการตบ ผู้ฝึกสอนหากต้องการพัฒนาการรุกโจมตีด้วยบอลเร็ว จะต้องฝึกซ้อมพัฒนาความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วนนี้ การรับลูกเสริฟต้องดี ตัวเซตเซตบอลได้ดี และผู้เล่นบอลเร็วตบบอลได้เด็ดขาด
และสุดท้ายในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับพื้นฐาน/เริ่มต้น การโจมตีด้วยบอลเร็วไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะทักษะและเทคนิคของผู้เล่นยังไม่มากพอ โดยส่วนใหญ่ในระดับนี้ผู้เล่นตัวกลางหน้ามักจะทำการรุกด้วยบอล B (สูงเหนือตาข่าย 1-2 เมตร)
สิ่งที่พึงระวังสำหรับผู้ฝึกสอนในแต่ละระดับคือ โดยส่วนใหญ่ผู้ฝึกสอนมักจะเลียนแบบการเล่น เทคนิคต่างๆจากทีมในระดับที่สูงกว่า โดยไม่ได้ทำการวิเคราะห์ทักษะความสามารถ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของนักกีฬา ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียแก่ทีมมากกว่า ผู้ฝึสอนจำเป็นต้องประเมินว่าในการแข่งขันแต่ละเกมส์ ระดับการเล่นของคู่แข่ง และของทีมมีเพียงใด จะใช้ผู้เล่นบอลเร็วเป็นตัวหลักในการรุกหรือเป็นเพียงตัวหลอก ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งขัน อย่าลืมว่า " ความสำเร็จในการเล่นของผู้เล่นตำแหน่งตบบอลเร็ว ไม่ได้เกิดจากการตบบอลอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการที่สามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นตัวกลางโดยทำให้ไม่สามารถไปสกัดกั้นการรุกจากตำแหน่งอื่นได้"

0

การเล่นวอลเลย์บอลในตำแหน่งตบบอลเร็วนั้นเคยได้กล่าวไว้บ้างแล้วในเรื่องของแนวความคิด นอกจากการมีจิตใตเป็นนักสู้ มีทัศนคติที่ดีต่อทีม มุ่งประโยชน์ที่เกิดแก่ทีมมากกว่าตนเอง นอกจากนี้ยังต้องมีแนวคิดด้านอื่นอีกดังนี้- ต้องสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการรุกให้ได้ตามคุณภาพของการรับบอลแรก สามารถปรับกลยุทธ์การตบได้ แม้ว่าบอลลูกแรกจะไปยังตัวเซตด้วยลักษณะใดก็ตาม และสามารถปรับจังหวะการเล่นให้เข้ากับตัวเซตได้ดี- ต้องทำการรุกได้อย่างเด็ดขาดสำเร็จผลเมื่อมีตัวสกัดกั้นเพียงคนเดียว โดยอย่างน้อยต้องมากกว่า 50% ของการรุกที่มีการสกัดกั้นเพียงคนเดียว- สามารถทำให้ตัวสกัดกั้นกระโดดเพื่อสกัดกั้นได้ แม้ว่าจะเป็นการกระโดดโดยไม่ได้ทำการรุก- ควรวิเคราะห์ สังเกตุตัวสกัดกั้นฝ่ายตรงข้ามว่ากลยุทธการสกัดกั้นเป็นอย่างไร การกระโดดของตัวสกัดกั้นนั้นจริงหรือหลอก และบอกกับตัวเซตเพื่อให้ตัวเซตปรับเปลี่ยนกลยุทธ์- ควรมีความหลากหลายในการรุก เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้จับทางการเล่นได้- จะต้องสังเกตุแนวรับของคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ 1 และ 5 เพื่อตบหรือหยอดไปยังบริเวณที่แนวรับไม่สามารถรับได้- ต้องมีความเข้าใจกับตัวเซตในการรุกแม้ว่าจะไม่มีการนัดแนะกันมาก่อน- ผู้เล่นบอลเร็วต้องมีความรู้สึกว่าความสำเร็จในการรุกของเพื่อนร่วมทีม เมื่อมีคู่ต่อสู้สกัดกั้นเพียงคนเดียวนั้น เป็นความสำเร็จของผู้เล่นบอลเร็วด้วย- จะต้องมีจิตใจนักสู้ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ (ลักษณะเช่นนี้ควรจะมีในทุกๆ ตำแหน่ง)- สามารถรับลูกเสริฟที่มายังบริเวณพื้นที่ที่ผู้เล่นบอลเร็วอยู่บริเวณหน้าตาข่ายและสามารถทำการรุกได้ทันทีการฝึกเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง การรับเสริฟ การเซต และผู้เล่นบอลเร็ว ทั้งหมดจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อม โดยเฉพาะในช่วงก่อนการแข่งขัน (Pre season) และช่วงการแข่งขัน (Season Phase) เสมอหากท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นขอเชิญได้ครับ

0















ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลอีกประเภทหนึ่งคือ การส่งบอลและการเซต (Pass and set) ซึ่งการส่งบอลเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ลูกบอลไปสู่เป้าหมายโดยมีวิธีการหลายแบบ เช่น การส่งบอลด้วยมือล่าง การส่งบอลด้วยมือบน การส่งบอลด้วยมือเดียว การเซตก็ถือว่าเป็นการส่งบอลด้วยมือบนด้วยเช่นกัน
ข้อแนะนำในการส่งลูกด้วยมือบนการส่งลูกด้วยมือบนวิธีการเล่นพื้นฐานที่ใช้สำหรับเล่นบอลเหนือศีรษะ ผู้เล่นต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าไปเล่นบอลโดยหันหน้าไปยังทิศทางที่ต้องการส่งบอลไป สัมผัสบอลด้วยด้านในของนิ้วมือโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อยประคองลูกบอล ข้อมือและศอกงอ จากนั้นส่งบอลขึ้นไปด้านบนด้วยการดีดนิ้ว ส่งข้อมือ ยืดข้อศอก เอว หัวเข่า และข้อเท้า (ดูภาพประกอบ)




ข้อแนะนำการส่งลูกด้วยมือล่าง (Underhand pass)ท่าทางการส่งลูกด้วยมือล่างเหยียดแขนและข้อมือ โดยแขนทำมุมกับลำตัว การเล่นลูกมือล่างควรเคลื่อนที่ไปเล่นบอลโดยให้ลูกบอลอยู่ด้านหน้าลำตัว การบังคับทิศทางของลูกบอลจะใช้หลักการของมุมตกและมุมสะท้อนของแขนที่ส่งบอล (ดูภาพประกอบ)ภาพที่ 1 ลักษณะของบอลจะลอยขึ้นด้านบน ภาพที่ 2 ลักษณะของบอลจะลอยไปด้านหน้า





ข้อแนะนำในการเซต (Setting)การเซตเป็นวิธีการส่งลูกด้วยมือบนชนิดหนึ่งวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของการเซตคือ การส่งบอลให้ตัวรุกทำการตบบอล ในการเซตให้ตัวรุกตบบอล บอลควรห่างตาข่ายประมาณ 1-3 ฟุต และมีความสูงเหนือตาข่ายพอสมควรตามลักษณะของการรุกเช่น บอลเร็ว บอลโค้งหัวเสาหน้าและหลังเป็นต้น เทคนิคขั้นสูงในการเซตคือการเซตบอลไปยังตำแหน่งที่คู่ต่อสู้ไม่พร้อมสำหรับการป้องกัน หรือการเซตที่ทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถคาดเดาทิศทางของบอลได้ลักษณะท่าทางพื้นฐานของการเซตคือ เงยหน้าเล็กน้อยโดยเฉพาะเมื่อตัวต่ำ ในการกระโดดเซตผู้เล่นต้องสัมผัสบอลเหนือศีรษะขณะที่ลำตัวลอยอยู่จุดสูงสุดในอากาศ และทิศทางของลูกบอลต้องอยู่ในทิศทางและระดับที่ตัวตบต้องการ (ภาพประกอบ)




ข้อแนะนำการเซตบอลจากบริเวณใดก็ตามควรเซตบอลให้ใกล้เป้าหมายที่ต้องการที่สุดเมื่อบอลลอยมาต่ำหน้าตาข่าย การเซตต้องทำให้สามารถเล่นบอลลูกนั้นได้ดีขึ้นเมื่อบอลที่ลอยมามีความสูงเพียงพอ การเซตสามารถเซตได้ทั้งจากตำแหน่ง A และ B (ดูภาพประกอบ)




การเซตต้องสามารถให้ตัวตบสามารถปรับจังหวะเวลาในการเข้าตบบอลได้
เราสามารถประเมินคุณภาพการเซตนั้นได้จากกรณีต่อไปนี้
การเซตบอลลอยเหนือตาข่ายเป้าหมายอยู่ที่ตัวตบ
ความสามารถในการปรับจังหวะการเซตให้เข้ากับตัวตบ
ความสามารถในการเซตไปยังทิศทางที่ไม่มีการสกัดกั้น
ความสามารถในการตัดสินใจหรือรู้ว่าบริเวณใดมีการสกัดกั้นที่ดีหรือไม่ดี
ความสามารถในการประเมินสถานการณ์การเล่น ผู้เล่นตัวเซตที่ดีจะต้องรู้ว่าจะเซตบอลไปที่ไหน
เวลาไหน อย่างไร ที่จะทำให้การรุกเกิดประสิทธิภาพที่สุด






0

การได้แชมป์เอเซียครั้งนี้ของทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยเป็นกระแสที่แรงมากครับตอนนี้ ผมลองตามไปดูในพันธุ์ทิพย์ มีผู้ตั้งกระทู้แสดงความเห็นกันมากมาย น่าชื่นใจจริง ๆ ครับ ผมติดตามข่าวกีฬาทุกประเภทของไทย ยินดีกับความสำเร็จของทุกประเภทกีฬา เห็นความเปลี่ยนแปลงมาก็มากมาย เคยอิจฉาวงการฟุตบอลไทยที่การแข่งขันไทยแลนด์พรีเมืยร์ลีกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในแง่ของผู้ชม ชื่นชมกับความสำเร็จของชลบุรีเอฟซีในแง่ของความเป็นผู้นำกระแสไทยลีกให้บูมได้ เห็นด้วยกับคำที่ว่าชลบุรีเอฟซี คือต้นแบบของการปลุกกระแสบอลไทย แต่มาวันนี้ไม่ต้องรอนานก็ได้เห็นความสำเร็จของวงการวอลเลย์บอลไทยความสำเร็จของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทยในครั้งนี้ได้พิสูจน์อะไรหลาย ๆ อย่างให้วงการกีฬาไทยได้เห็นว่า กีฬาประเภททีมก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน เรามักได้ยินเสมอๆ ว่ากีฬาประเภททีมของไทยยากนักที่จะประสบความสำเร็จในระดับเอเซียหรือระดับโลก แต่บัดนี้วอลเลย์บอลหญิงไทยได้พิสูจน์แล้วว่าคำกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงเลย หากผู้รับผิดชอบร่วมแรงร่วมใจมุ่งมั่นทำงานกันอย่างจริงจัง นอกจากวอลเลย์บอลแล้วยังมีทีมกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่น่าศึกษาคือทีมฟุตซอลชายทีมชาติไทย ที่นำโดยบิ๊กป๋อม อดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ ประธานพัฒนาฟุตซอลไทย ที่ทุ่มเทจนทำให้ทีมฟุตซอลชายไทยก้าวไปอยู่แนวหน้าของเอเซียและของโลกความสำเร็จของสมาคมวอลเลย์บอลไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นความร่วมมือร่วมใจของคนวอลเลย์บอลอย่างแท้จริง ทั้งส่วนของผู้บริหาร ผู้สนับสนุน และผู้ปฎิบัติงานต่างๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชมและทราบกันดีในวงการกีฬาอยู่แล้ว เชื่อว่าหากกีฬาประเภททีมอื่นๆ จะลองเอาโมเดลความสำเร็จไปทดลองใช้อาจจะส่งผลดีต่อวงการกีฬาโดยรวมของบ้านเราก็เป็นได้ความสำเร็จของสมาคมวอลเลย์บอล หากวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่ามีส่วนสำคัญ 4 ส่วนที่น่าสนใจคือ1. มีแผนพัฒนาที่ชัดเจน2. มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และความเสียสละ3. มีผู้สนับสนุน (Sponser) ที่ให้ความไว้วางใจสมาคมฯ4. บุคลากรในวงการวอลเลย์บอลไม่มีความแตกแยกแผนพัฒนาที่ชัดเจน สมาคมวอลเลย์บอลมีแผนพัฒนาที่ชัดเจนและต่อเนื่องมายาวนาน แผนที่สำคัญคือการจัดให้มีกาแข่งขันในทุกช่วงระดับอายุโดยมีผู้สนับสนุนหลัก ๆ ให้การสนับสนุนการแข่งขัน ได้แก่ รุ่นอายุ 12 14 16 และ 19 ปี จนกระทั่งถึงระดับประชาชนและระดับอาชีพ (ไทยแลนด์วอลเลย์บอลลีก) ซึ่งการที่จัดให้มีการแข่งขันในทุกระดับทำให้นักกีฬาวอลเลย์บอลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีแผนการพัฒนาทีมชาติไทยอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งโค้ชอ๊อดริเริ่มไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว) รวมทั้งการพยายามผลักดันของผู้บริหารสมาคมฯที่ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์ฝึกวอลเลย์บอลแห่งหนึ่งของสหพันธุ์วอลเลย์บอลนานาชาติในทวีปเอเซีย อันส่งผลให้ประโยชน์ตกอยู่กับวงการวอลเลย์บอลไทยผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และความเสียสละ ประเพณีอย่างหนึ่งของสมาคมวอลเลย์บอลคือผู้ที่จะเป็นนายกสมาคมฯ จะเชิญปลัดกระทรวงมหาดไทยเข้ามารับตำแหน่ง โดยไม่สนใจนักการเมืองหรือนักธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหารสมาคมฯ เมื่อสมาคมฯ มีกิจกรรมการแข่งขันในต่างจังหวัด ก็มักจะได้รับการอำนวยความสะดวกจากผู้ใหญ่ในจังหวัดซึ่งอาจจะไม่ใช่ในด้านของตังเงิน แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้สมาคมฯ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือผู้บริหารสมาคมฯ จะทำหน้าที่ในการบริหารโดยไม่ได้ลงมาก้าวก่ายการทำงานของผู้ปฎิบัติหรือในส่วนอื่นๆ ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นผู้สนับสนุน หากเปรัยบเป็นคนสมาคมวอลเลย์บอลอาจจะเหมือน คนถ่อมตัวไม่ค่อยมีปากมีเสียงอยู่อย่างพอเพียงจริง ๆ ไม่ค่อยเรียกร้องอะไรมากนักซึ่งส่วนนี้เองทำให้ผู้สนับสนุนที่มีอยู่จึงเป็นผู้สนับสนุนที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน เกิดจากความไว้เนื้อเชื่อใจเห็นความตั้งใจจริงของสมาคมฯ ที่มีการทำงานเพื่อพัฒนาวงการอย่างจริงจัง จึงถือว่าผู้สนับสนุนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญเช่นกันบุคลากรในวงการวอลเลย์บอล ในวงการวอลเลย์บอลโดยส่วนใหญ่จะอยู่กันอย่างพี่น้อง ไม่ค่อยจะมีปัญหาใหญ่ๆ ที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับวงการ หลายคนก้าวเข้ามาเพราะใจรักในกีฬาวอลเลย์บอล ไม่ได้มุ่งหาผลประโยชน์ (เพราะแทบจะไม่มีผลประโยชน์) ผู้ฝึกสอนก็ทำหน้าที่สร้างนักกีฬาขึ้นมาโดยการสนับสนุนของสถานศึกษา ท้องถิ่น หรือสโมสร ผลิตนักกีฬาป้อนวงการส่วนที่สำคัญที่ทำให้ภาพของวงการวอลเลย์บอลไทยได้รับการยอมรับจากวงการกีฬาก็ด้วยสาเหตุว่า การทำหน้าที่ของตนเองด้วยความเสียสละโดยไม่ก้าวก่ายกัน ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายใน ต่างทำหน้าที่ของตนเองทำให้วงการวอลเลย์บอลก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ และหวังว่าความสำเร็จในครั้งนี้ คงจะเป็นแรงขับที่ทำให้คนในวงการช่วยกันพัฒนาวอลเลย์บอลไทยให้ก้าวหน้าต่อไปปัจจัยประการสุดท้ายที่ไม่อาจลืมได้คือแรงสนับสนุนจากแฟนๆ กีฬาวอลเลย์บอลไทย ซึ่งนับวันจะมีมากยิ่งขึ้นและมีความเหนียวแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ แรงสนับสนุนนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในวงการวอลเลย์บอลไม่อาจหยุดนิ่งได้ ต้องพยายามพัฒนาวงการให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขให้แฟนๆ วอลเลย์บอลและคนไทย ในฐานะที่เป็นเจ้าของเงินภาษีที่นำมาพัฒนาวงการให้เจริญก้าวหน้า และเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเรื่องของกีฬาวอลเลย์บอล

0


1. ปรบมือแสดงความยินดีต่อผู้แข่งขัน
2. ให้กำลังใจกับคู่แข่งขันทั้งสองฝ่าย
3. รู้แพ้ รู้ชนะ เมื่อทีมตนเองที่เชียร์แพ้ก็ไม่ควรเสียใจมากเกินไป
4. ไม่กล่าววาจาหรือแสดงกิริยาเย้ยหยันผู้แข่งขันและเจ้าหน้าที่ด้วยประการทั้งปวง
5. ไม่บังควรกล่าววาจาสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
6. ไม่รบกวนผู้เล่นหรือกรรมการผู้ตัดสิน
7. ไม่ยุแหย่ให้เกิดความแตกแยกในระหว่างผู้เล่นหรือผู้เล่นกับผู้ดู
8. ยอมรับคำตัดสินของกรรมการไม่โต้แย้งหรือต่อต้าน


1. มีความโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนร่วมทีม
2. มีความสำนึกในหน้าที่ของนักกีฬา
3. เป็นผู้รู้จักแพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
4. เป็นผู้ที่ยอมรับในฝีมือของเพื่อนร่วมทีม
5. เชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
6. รู้ เข้าใจและปฏิบัติตามกติกาอย่างแท้จริง
7. เชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ
8. ไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อผู้ตัดสิน
9. ไม่เป็นผู้ที่มีอคติต่อผู้อื่น ไม่ว่าใครก็ตาม
10. เป็นผู้ที่เสียสละ เปิดโอกาสให้คนอื่นแสดงความสามารถในโอกาสอันควร
11. มีความอดกลั้น อดทน สามารถระงับอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
12. ให้เกียรติเพื่อนร่วมทีมและคู่แข่งขัน

0


การแข่งขัน
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การบล็อก
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น

0


๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตรแล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะมากยิ่งขึ้น๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่นผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะแพ้ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอลที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจจะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่มหรือกลางแจ้ง๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบมีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วย๘. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอลย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถของร่างกายให้มีความต้านทานได้ดีด้วย๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน ทั้งระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดี๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับสูงบางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานทารับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลังเป็นกีฬาที่นิยมของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่ เป็นประจำ

0


5 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ..เทคนิคการเล่นวอลเล่ย์บอล 1.การถวายพานให้ตัวรุก Dish it upเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะต้องผ่านบอลเพื่อให้เพื่อนทำการรุก สิ่งที่ควรปฏิบัติถ้าเป็นไปได้ก็คือ ใช้การเซ็ตถึงแม้ว่าบอลจะมาด้วยความเร็วหรือต่ำ เราก็ควรพยายามใช้การเซ็ต ผลที่ได้มันคุ้มค่ากับความพยายามเป็นอย่างมาก เพราะการผ่านบอลด้วยการเซ็ตจะมีความแม่นยำมากกว่าการใช้มือล่างทำให้การตบบอล ของเพื่อนร่วมทีมง่ายขึ้น2.การรู้แผนการเล่นเสมอ Don't be Bashful ก่อนสัญญาณการเล่นจะเริ่มในแต่ละลูกผู้เล่นที่เป็นตัวรุก จะต้องมองที่ตัวเซ็ต (Setter) เพื่อดูสัญญา (Signal) แผนการเล่นที่ตัวเซ็ตจะให้ และเมื่อได้รับสัญญาณ จะต้องแสดงการรับรู้ เช่น ผงกศรีษะ เพื่อจะได้เข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน ถ้าเราไม่แน่ใจในสัญาณที่ตัวเซ็ตแสดง ผู้เล่นจะต้องตามตัวเซ็ตให้แน่นอนก่อนการเสริฟจะเริ่มขึ้น ดีกว่าปล่อยตามเลย เพราะผลที่เกิดอาจจะผิดพลาดได้ เช่น ตัวเซ็ต เซ็ตบอลไปที่ตำแหน่งหลังแต่ตัวรุก (Spiker) รอทำการรุกอยู่ด้านหน้า3.การกู้วิกฤตด้วยกำปั้น Cract a knuckleสถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยในการเล่นคือ เมื่อบอลลอยอยู่เหนือตาข่ายและตัวผู้เล่นอยู่ห่างจากบอล วิธีการแก้สถานการณ์ที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การใช้กำปั้นเล่นบอลทันที การใชกำปั้นเล่นบอลนั้นไม่มีทางที่กรรมการจะเป่าผิดกฎิกาได้ และการใช้กำปั้นอย่างมีประสิทธิภาพนั้นบริเวณที่ใช้สัมผัสสบอลควรจะเป็นบริเวณสันมือ และการเล่นแบบนี้ยิ่งใช้ได้กับสถานการณ์ที่บอลลอยมาสูงเกินที่ผู้เล่นสามารถเล่นด้วยการเซ็ตได้4.การเป็นสิงโตตะครุบเหยือ Be a Lion not a Pigในการรับ (Defense) ตำแหน่งของบอลที่สามารถรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะอยู่ระดับบริเวณปลายเท้าถึงบริเวณข้อเท้าของเรา บอลที่มาในลักษณะที่จะบังคับทิศทางได้ง่าย ในการเตรียมพร้อมรับบอล ผู้เล่น จะต้องยืนด้วยปลายเท้าโดยทิ้งน้ำหนักตัวไปที่เท้านำ เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่เข้าไปรับบอลทำได้ง่ายและต้องตื่นตัวเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา5.การกระโดดเหมือนเดินบนอากาศ Sky Walkenการกระโดดทำการรุกหรือการกระโดดตบบอล (Spike) สิ่งที่ต้องคิดอยู่เสมอคือกระโดดให้สูงที่สุดไม่ต้องกลัวว่ากระโดดสูง จะทำให้เชือกผูกรองเท้าพันตาข่าย การฝึกกระโดดที่ได้ผลคือ การกระโดดแตะ แป้นบาสเกตบอล ถ้าเราทำเป็นประจำจะทำให้พัฒนาการกระโดดได้ดี การลงพื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งต้องลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้างโดย บริเวณปลายเท้าจะต้องสัมผัสพื้นก่อนส้นเท้า และต้องย่อเข่า ย่อตัว ตามลำดับเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก มิฉะนั้นอาจเกิดการบาดเจ็บที่ข้อเท้าหรือ หลังได้

0



กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอลในต้นปี พ.ศ. 2439 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในครั้งนั้น Dr. Luther Gulick ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกพลศึกษาอาชีพและกรรมการบริหารด้านพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ได้เชิญให้นาย William G. Morgan นำเกมนี้เข้าร่วมในการจัดนิทรรศการที่ New College Gymnasium โดยใช้ผู้เล่นฝ่ายละ 5 คนนาย Morgan ได้อธิบายว่าเกมใหม่ชนิดนี้เรียกว่า มินโตเนต (Mintonette) เป็นเกมที่ใช้เล่นลูกบอลในโรงยิมเนเชียม แต่อาจจะใช้เล่นในสนามกลางแจ้งก็ได้ ซึ่งผู้สามารถเล่นลูกบอลโดยไม่มีสิ่งกีดขวางเหนือความสูงของตาข่ายจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง การเล่นเป็นการผสมผสานกันระหว่างเกม 2 ประเภทคือ เทนนิส และ แฮนด์บอลศาสตราจารย์ Alfred T. Halstead ผู้อำนวยการพลศึกษาแห่งวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ซึ่งได้ชมการสาธิตได้ให้ข้อคิดเห็น และลงความเห็นว่า เนื่องจากเกมการเล่นส่วนใหญ่ลูกบอลจะต้องลอยอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงพื้นก็ถือว่าผิดกฎเกณฑ์การเล่น จึงใช้ชื่อเกมการเล่นนี้ว่า วอลเลย์บอล ซึ่งในที่ประชุมรวมทั้งนาย Morgan ต่างก็ยอมรับชื่อนี้โดยทั่วกันในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้1.เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 27. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดีผู้อำนวยการพลศึกษาต่างๆ ของ Y.M.C.A. พยายามส่งเสริมและให้การสนับสนุนกีฬาชนิดนี้โดยนำเข้าไปฝึกในโรงเรียน ซึ่งครูฝึกพลศึกษาของมหาวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ กับมหาวิทยาลัย George William มลรัฐอิลลินอยส์ ได้เผยแพร่กีฬาชนิดนี้ไปทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมีการทำเป็นแบบแผน เพื่อจะได้นำไปเผยแพร่ต่อไปดังนี้1. นาย Elwood s. Brown ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลไปสู่ประเทศฟิลิปปินส์2. นาย J. Haward Crocher นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีน3. นาย Franklin H. Brown นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่น4. Dr. J.H. Cary นำไปเผยแพร่ที่ประเทศพม่า และอินเดียปี พ.ศ. 2453 นาย Elwood S. Brown เดินทางไปฟิลิปปินส์ ได้ช่วยจัดตั้งสมาคม และริเริ่มการแข่งขันครั้วแรกที่กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2456 โดยเรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า Far Eastern Gamesในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Dr.Grorge J. Fischer เลขาธิการปฎิบัติการสงคราม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลเข้าไว้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการฝึกทหารในค่าย ทั้งในและนอกประเทศ และได้พิมพ์กฎกติกากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยต่างๆ ของทหาร ทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เพื่อให้ทหารได้ใช้เวลาว่างกับกีฬาโดยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล และตาข่ายจำนวนหลายหมื่นชิ้นได้ถูกส่งไปยังค่ายทหารที่ประอยู่ตามหน่วยต่างๆ ทั้งในประเทศและกอง ทัพพัธมิตร นับว่า Dr.Grorge J. Fisher เป็นผู้ช่วยเหลือกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมากจน ได้ชื่อว่าบิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอลปี พ.ศ. 2465 ได้มีการปรับปรุงกฎกติกาของวอลเลย์บอลใหม่ โดยสมาคม Y.M.C.A. และสมาคมลูกเสือแห่งอเมริกัน N.O.A.A. ได้จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นมีรัฐต่างๆ ส่งเข้าแข่งขัน 11 รัฐ มีทีมเข้าแข็งขันทั้งสิ้น 23 ทีม รวมทั้งทีมจากแคนาดาปี พ.ศ. 2467 กองทัพบกและกองเรือของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มโรงเรียน และสมาคมต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่าสมาคมกีฬาและสันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสันทนาการแห่งชาติ ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุไว้ในกิจกรรมของสมาคมวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ไดมีการตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น เรียกว่า The Untied States Volleyball Association มีชื่อย่อ USVBA ที่ Dr. George J. Fischer เป็นประธาน และ Dr. John Brown เป็นเลขาธิการ ได้ตั้งความมุ่งหมายในการบริหารกีฬาวอลเลย์บอลออกเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้1. จัดการประชุมประจำปีเพื่อจดทะเบียนมาตรฐานของกีฬาวอลเลย์บอลให้ดีขึ้น2. วางแผนงานพัฒนากีฬา และการจัดการแข่งขัน3. จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ4. พัฒนากติกาในการเล่นให้ดีขึ้น5. จัดหาสมาชิกให้เพิ่มขึ้นปี พ.ศ. 2479 ได้มีการจัดการแข่งขันประจำปีที่นครนิวยอร์ก จากการแข่งขันนี้ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแข่งขันวอลเลย์บอลดีขึ้น โดยมีสมาชิกเข้าร่วมจำนวนมากปี พ.ศ. 2483 สมาคม USVBA ได้รับสมาชิกเพิ่ม 2 ทีม คือ มหาวิทยาลัยเทเบิล และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และได้มีการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไปที่รัฐฟิลาเดลเฟียปี พ.ศ. 2485 มีการแบ่งเขตออกเป็น 12 เขต สมาชิกต่างๆ ได้ขอร้องให้สมาคม Y.M.C.A. หยุดรับสมาชิกเพราะมีสมาชิกมากเกินไป ทำให้บริการได้ไม่ทั่วถึง เอกอัครราชทูตของรัสเซีย ในกรุงวอชิงตัน ได้ส่งเอกสารเกี่ยวกับกฎกติกาของวอลเลย์บอล ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีนาย Herry E. Willson และ Dr. David T. Gaodon เป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้นวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2485 นาย William G. Morgan ผู้ริเริ่มกีฬาวอลเลย์บอลได้ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. 2486 สมาคมสตรีของ AAHPER (America Association of Health,Physical Education and Recreation) โดยมี Dr. John Brown เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสมาคม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุเข้าไว้ในกิจกรรมของสมาคมสตรี และดำเนินการแข่งขันภายในกลุ่มระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้น โดยมีทีมที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมากปี พ.ศ. 2489 ได้เริ่มมีการสอนกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นและการแข่งขันซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร จำนวน 2 ม้วน ในการทำภาพยนตร์ครั้งนี้คิดเป็นเงินประมาณ 7,800 ดอลลาร์ฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างชาติ โดยเริ่มที่ชิคาโก ซึ่ง Andrew Stewert เลขาธิการโอลิมปิกแห่ง สหรัฐอเมริกา เพื่อนำกีฬาวอลเลย์บอลจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกต่อไปปี พ.ศ. 2490 ได้มีกฎกติกาจัดพิมพ์ใหม่ โดยสมาคม USVBA ซึ่งทางสมาคมได้ส่งนาย FB. De Groot และนาย Royal L. Thomas เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมที่กรุงปารีส โดยร่วมจัดการแข่งขันระหว่างชาติขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดสหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้นในต้นปีนี้เองปี พ.ศ. 2491 มีการประชุมสมาคม USVBA ที่ South Bend Indiana และปรับปรุงสมาคม USVBA มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ขึ้น โดยสมาคมได้ส่งทีมวอลเลย์บอลชายไปตระเวนแข่งขันในยุโรปปี พ.ศ. 2492 หนังสือ Time Game เขียนโดยสมาคม USVBA รายงานการแข่งขันวอลเลย์บอลที่ลอสแอนเจลีส ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ผู้ที่ชนะเลิศได้แก่ รัสเซีย ที่ 2 ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย และในปีนี้เองประเทศผรั่งเศสได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม USVBA ด้วยปี พ.ศ. 2493 Dr. Fisheer ข้าราชการบำนาญที่มาร์แชลแอลเวลเตอร์ ได้นัดประชุมผู้นำทางกีฬาวอลเลย์บอล โดยแต่ละประเทศได้เขียนรายงานการประชุมเป็นภาษาสวิส และมีการสาธิตการเล่นกลางแจ้ง และในปีนี้ประเทศอังกฤษได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลไว้ในกิจกรรมของสมาคม Y.M.C.A. ของอังกฤษด้วยปี พ.ศ. 2494 นาย Robert J. Lavelca ได้ทำสไลด์เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา

0

Followers